สงครามครูเสด ขนาดย่อ สงครามครูเสด คำว่า " ครูเสด " นำคำมาจากภาษาอังกฤษ คือ " Crusade " สำหรับความหมายของคำว่า ครูเสด มีดังนี้ " Crusade " Any of the military expeditions undertaken by the Christians of Europe in the 11 th , 12 th , and 13 th centuries for the recovery of the Holy Land from the Moslems.
" ครูเสด " หมายถึง กองทหารที่ไปปฏิบัติการนอกประเทศซึ่งเริ่มโดยชาวคริสต์เตียนในทวีปยุโรป ในช่วงศตวรรษที่ 11 , 12 , และ 13 เพื่อกอบกู้แผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์กลับคืนมาจากมุสลิม
นายสอ เศรษฐบุตร ได้ให้ความหมายของคำว่า " Crusade " ในพจนานุกรม New Model English - Thai Dictionary , มีใจความว่า " ครูเสด " การสงครามที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 11 ถึง 13 แห่งคริสต์กาลโดยชาวคริสเตียนในทวีปยุโรปพากันยกทัพไปตีพวกที่นับถือศาสนาอิสลามในตุรกี เพื่อเอาเมืองเยรูซาเล็ม อันเป็นแหล่งของคริสต์ศาสนาคืน แต่ไม่สำเร็จ
สัญญลักษณ์ของชาวคริสต์เตียนในสงครามครูเสด คือ ไม้กางเขน ( Cross ) ส่วนมุสลิมเรียกสงครามนี้ว่า " สงครามฟีสะบีลิ้ลลาฮ์ " " สงครามการต่อสู้เพื่อเสียสละในหนทางของอัลลอฮ์ "
สาเหตุของสงครามครูเสด
กองทัพที่ชาวคริสต์เตียนส่งมาปะทะกับมุสลิมในระหว่าง ค.ศ. 1096 - 1273 นั้น โดยทั่วไปเรียกว่า สงครามครูเสด สาเหตุที่ทำให้เกิดสงครามครูเสดพอสรุปได้ดังนี้
สงครามครูเสดเป็นผลของความขัดแย้งกันเป็นเวลาช้านาน ระหว่างคริสต์จักรทางภาคตะวันตกกับอาณาจักรมุสลิมทางภาคตะวันออก ( Western - Eastern ) ต่างฝ่ายต่างก็พยายามที่จะมีอำนาจเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง เนื่องจากการที่อิสลามแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดความหวาดกลัวขึ้นทั่วไปในหมู่ชาวคริสเตียนในยุโรป ด้วยเหตุดังกล่าว ในศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์เตียนจึงได้ส่งกองกำลังมาปะทะกับมุสลิม ความกระตือรือร้นในการแสวงบุญของชาวคริสต์เตียนยังนครเยรูซาเล็มมีมากกว่าที่เคยเป็นมา ในช่วงนั้น เยรูซาเล็มตกอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิม ผู้แสวงบุญชาวคริสต์เตียนจึงมีความต้องการดินแดนเยรูซาเล็มเป็นของตนเอง เพื่อความสะดวกในการแสวงบุญมากยิ่งขึ้น ช่วงเวลาระหว่างนั้น เป็นระยะเวลาที่ระส่ำระสายอยู่ทั่วไปในยุโรป พวกเจ้าเมืองต่างๆ ต่างก็ต่อสู้ทำสงครามซึ่งกันและกัน พระสันตะปาปา ( POPE ) มีความเห็นว่า ถ้าปล่อยให้อยู่ในสภาพเช่นนี้จะทำให้ชาวคริสต์เตียนในยุโรปต้องอ่อนแอลง เขาจึงยุยง ปลุกระดมให้ประชาชนหันมาต่อสู้กับชาวมุสลิมแทนโดยอ้างว่าจะได้รับกุศลผลบุญ และเพื่อเอานครอันศักดิ์สิทธิ์ เยรูซาเล็มกลับคืนมา มุสลิมได้กลายเป็นมหาอำนาจทางการค้าแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา การค้าพาณิชย์ในทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนจึงตกอยู่ในความควบคุมของมุสลิมอย่างเต็มที่ ดังนั้นชาวคริสต์เตียนในยุโรปจึงต้องทำสงครามกับมุสลิมเพื่อหยุดยั้งความเจริญก้าวหน้าของมุสลิม สันตะปาปา เออร์แบนที่ 2 ( Urban 2 th ) ได้เรียกประชุมชาวคริสต์เตียนที่เมืองเลอมองค์ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ.1095 และรบเร้าให้ชาวคริสต์เตียน ทำสงครามกับชาวมุสลิม ความประสงค์ของท่านในเวลานั้นก็คือต้องการจะรวมคริสต์จักรของกรีกมาไว้ใต้อิทธิพลของท่านด้วย ท่านได้สัญญาว่าผู้ที่เข้าร่วมในการต่อสู่จะได้รับการยกเว้นจากบาปที่เคยทำมา และผู้ที่ตายในสงครามก็จะได้ขึ้นสวรรค์ ภายในเวลาไม่นานก็รวบรวมคนได้ถึง 150,000 คน ส่วนมากเป็นชาวแฟรงค์ ( Frank ) และนอร์แมน ( Norman ) คนเหล่านี้ได้มาชุมนุมกันที่เมืองเยรูซาเล็ม FRANK ชื่อย่อของ Frances , Francis หมายถึง ชนชาติที่อาศัยอยู่ในแถบแม่น้ำไรน์ในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของฝรั่งเศสสมัยนี้ แต่เดิมมาจากเยอรมันนี , ชื่อซึ่งชาวทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนแถบตะวันออก เรียกชาวยุโรปตะวันตก อันเป็นที่มาของคำว่า " ฝรั่ง " ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้
NORMAN ชนที่อาศัยอยู่ในแคว้น นอ - เมินดี ( Normandy ) ในฝรั่งเศสแต่ก่อน
ผลของสงครามครูเสด
สงครามครูเสด มีผลสำคัญในประวัติศาสตร์โลก เพราะสงครามครูเสดนี่เอง ที่ทำให้ยุโรปได้มีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับโลกมุสลิม ดังนั้น จึงเกิดความสัมพันธ์ระหว่างตะวันออกและตะวันตกขึ้น อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างดินแดนทั้งสองนี้ ความรู้ของประชาชนที่มีความเจริญก้าวหน้าในแถบตะวันออก เป็นแรงดันทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางสติปัญญาขึ้นในแถบตะวันตก สงครามครูเสด จึงมีบทบาทสำคัญในการนำมาซึ่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาในยุโรป สงครามครูเสดได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่สงครามครูเสดแบบใหม่ยังไม่จบลง เราพร้อมที่จะสู้แล้วหรือยัง
อ.ประเสริฐ วันเอเลาะ (โรงเรียนอิสลามศรีอยุธยามูลนิธิ) |