ท่าน คงได้ทราบข่าวสารหลายต่อหลายครั้งจากข่าวการทรุดตัวของอาคาร ในหลายท้องที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมนทล และมีบ้างที่เกิดการทรุดตัวของอาคารในต่างจังหวัด เช่นที่ รร.แห่งหนึ่งในโคราชเมื่อหลายปีก่อน อาคารทรุดตัวและตกเป็นข่าวทางสื่อสารมวลชนที่ผ่านมาส่วนมากอาคารจะพิบัติค่อนข้างรุนแรง แต่ก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก ที่อาคารทรุดตัวแต่ไม่เป็นข่าว เนื่องจากการทรุดตัวของอาคารยังไม่เกิดการพิบัติรุนแรง นั่นเอง นี้
รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆที่ก่อปัญหาอาคารทรุด ให้อ่านใน บทความปัญหาอาคารทรุด
ส่วนฉบับนี้อย่างที่ได้กล่าวตอนต้น จะว่าด้วยเรื่องเมื่ออาคารมีปัญหาควรแก้ไขอย่างไร ก่อนอื่นเมื่ออาคารของท่านมีรอยร้าวเกิดขึ้นท่านจะต้องสังเกตรอยร้าวของตัวอาคารให้ดีโดยขั้นแรก ให้ท่านเอาดินสอขีดเป็นแนว ตั้งฉากกับปลายสุดของ รอยร้าว เป็นเส้นขนาน 2 เส้น ระยะห่างระหว่างเส้นขนาน 1 ซม. ทุกรอยร้าวที่เกิดขึ้น เขียนวันที่กำกับไว้ทุกจุด จะเขียนเวลาไว้ด้วยก็ดี จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปให้ท่านดูปลายรอยร้าวที่ท่าน ขัดเส้นขนานตั้งฉากไว้ ว่ามันรุกล้ำเข้าไปในเส้นที่ท่านขีดขนานไว้หรือไม่ หากไม่รุกล้ำท่านก็เว้นระยะเฝ้าสังเกตไปเรื่อยๆเป็นระยะๆ อาจจะทุกสัปดาห์และทุกเดือน แต่เมื่อเวลาผ่านไปเพียงแค่หนึ่งสัปดาห์รอยร้าวได้ล้ำเข้าไปในเส้นขนานให้ท่านวัดและทำการบันทึกค่า และหากผ่านไป 1 เดือนรอยร้าวเพิ่มขึ้นจนสุดเส้นขนาน ให้ท่านรีบ หาผู้เชี่ยวชาญด้านงานเฉพาะทาง มาทำการตรวจสอบอย่างละเอียดทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นอันขาด เพราะหากรู้ก่อนและแก้ไขที่ต้นเหตุทันท่วงที นอกจากชีวิตและทรัพย์สินท่านจะปลอดภัย แล้ว งบประมาณในการแก้ไขก็ไม่สูงมาก แต่ในทางกลับกันหากท่านไม่นำเอาผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบ แต่ไปแก้ไขที่ปลายเหตุด้วยการหาช่างมาแก้ไขตบแต่งรอยร้าวแล้วละก้อท่านกำลัง คิดผิดอย่างมหันต์ เพราะนอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาให้ท่านได้แล้ว ยังจะก่อปัญหารุนแรงตามมา โดยไม่รู้ตัวเมื่อผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบแล้ว ท่านต้องดูด้วยว่าเชี่ยวชาญจริงหรือไม่ (มั่วๆมีมาก) จำไว้นะครับ การแก้ปัญหาอาคารทรุดจะต้องตรวจสอบหาปัญหา และ แก้ไขที่ต้นเหตุเท่านั้น อาคารจึงจะปลอดภัย
เคยมีกรณีตัวอย่างหลายกรณีด้วยกัน เท่าที่เคยไปตรวจสอบพบ อยากยกกรณีตัวอย่างสักเรื่อง คือการที่มีวิศวกรบางท่านที่มีอาชีพ เกี่ยวกับการทำเข็มเจาะ และ บางกรณีไปพบวิศวกรที่ไม่มีความเชี่ยวชาญเฉาะด้านแนะนำ เจ้าของอาคารผู้ประสพเหตุ อาคารทรุด เห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ก็เชื่อตามนั้น หลังจากแก้ไขไปไม่กี่ปี อาคารเกิดการแตกร้าวรุนแรงมากขึ้นไปอีก ในกรณีบ้านเดี่ยวก็จะเดือดร้อนลำพังกับเจ้าของบ้านไม่ก่อผลกระทบต่อผู้อื่น แต่ในกรณีบ้านแถวหรือทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์ หากแก้ไขไม่ถูกต้องนอกจากอาคารตนเองจะพิบัติรุนแรงแล้ว ยังไปก่อผลกระทบกับอาคารข้างเคียงอีก
กรณีของการแก้ไขไม่ถูกวิธี คือการที่ไม่ตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่า ฐานรากอาคารมีพฤติกรรมระดับการทรุดตัวทุกฐานในลักษณะเท่ากันหรือแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ซึ่งที่จริงแล้วต้องใช้เวลาตรวจสอบพอสมควรจึงสรุปการแก้ไขได้ ไม่ใช่ว่าเมื่อเช็คระดับแล้วเห็นว่าอาคารเอียงไปด้านไหนก็เอาเข็มไปเสริมด้านนั้น เช่นกรณีการนำเอาเข็มเจาะคอนกรีต เสริมหูช้าง ไปเสริมด้านที่ทรุดตัวมากส่วนมากจะเป็นด้านมุมไม่ริมใดก็ริมหนึ่งเพื่อหยุดการทรุดตัว เฉพาะจุด เมื่อถามว่าสามารถหยุดการทรุดตัวเฉพาะจุดนั้นได้ไหม ตอบว่าได้ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปไม่นาน อาคารดังกล่าวกับแตกร้าวตรงกลางอย่างรุนแรง ในขณะเดียวกันพื้นที่ใช้สอยรอบบ้านก็เสียไปอันเนื่องจากเมื่อผิวดินและพื้นทางเดินรอบบ้านยุบตัวลง ไอ้เจ้า หูช้างของที่หัวเข็มมันก็โพล่มาสร้างความรำคาญ สายตาต่อเจ้าของบ้านและผู้ที่ผ่านไปพบเห็น เสียสุขภาพจิตอีกต่างหาก นั้นตัวอย่างหนึ่ง สุดท้ายก็ต้องแก้ไขฐานรากทั้งอาคาร