จนก่อผลกระทบต่ออาคาร ที่พักอาศัยในแนวราบ เช่น สิ่งก่อสร้าง บ้านเรือนพักอาศัย อาคารเรือนแถว ประเภทตึกแถวและทาวน์เฮาส์ และที่พักอาศัยโดยทั่วไป ด้วยตระหนักถึง ผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดจนพฤติกรรมการเห็นแก่ได้ของบรรดานายทุนนักพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์บางคน ประกอบกับความรู้และประสบการณ์ที่ทำงาน ตรวจสอบแก้ไขอาคารทรุดเป็นเวลากว่า 15 ปี ตรวจสอบอาคารและทำการแก้ไขไปกว่า 200 อาคาร จึงได้เกิดคอลัมน์นี้ขึ้นมาเพื่อท่านผู้อ่านทั้งหลายจะใช้ประโยชน์ จากบทความเล็กๆชิ้นนี้ได้ไม่มากก็น้อย
จึงขอให้ท่าน ได้ติดตามคอลัมน์นี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการออกแบบก่อสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งความรู้ในเรื่องของชั้นดิน คุณสมบัติของดินเป็น เช่นไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการออกแบบอาคาร การคงอยู่และการพิบัติของอาคาร ล้วนแล้วแต่จะต้องใช้ความรู้จาก สภาพของชั้นดินเป็นประถมทั้งสิ้น ท่านจะได้ทราบว่า หลักในการออกแบบอย่างไรในสภาวะแวดล้อมเช่นปัจจุบัน การออกแบบฐานราก ของอาคารควรทำอย่างไร จึงสามารถป้องการทรุดตัวได้อย่างถาวร ภาษาที่ใช้เขียนบทความไม่เน้นศัพท์ทางวิชาการมากนักแต่จะเน้นในด้านของหลักปฏิบัติ เพื่อท่านผู้อ่านจะได้เช้าใจง่ายๆ และไปใช้ประโยชน์ ด้วยตัวเองได้อย่างดี
บ้าน คือวิมาน ของเรา คงไม่มีใครปฏิเสธ กว่าจะเป็นเจ้าของบ้านสักหลังในชีวิต จะต้องใช้เวลาเก็บหอมรอมริบเกือบทั้งชีวิต แต่น้อยคนนักที่จะสร้างหรือซื้อบ้านอยู่อาศัยด้วยเงินสดทั้งก้อน ส่วนมากก็ต้องใช้สินเชื่อของสถาบันการเงินไม่มากก็น้อย ซึ่งก็ต้องผ่อนส่งจนกว่าจะชำระหมด ก็ต้องใช้เวลานาน ท่านทราบหรือไม่ว่า ในสภาพปัจจุบัน การจะหาหรือสร้างที่อยู่อาศัยสักหลัง นอกจากจะถามผู้รู้เรื่องบ้านแล้วยังต้องอาศัยโชคช่วยด้วยเหมือนกัน หากโชคดีก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าหากโชคร้ายแล้วละก็ ต่อให้เอาป้ายคำว่า บ้านนี้อยู่แล้วรวยที่นิยมกันมาแขวนไว้หน้าบ้าน จะปลุกเสกโดยจอมขมังเวทย์ท่านใด ก็ไม่สามารถช่วยให้ท่านอยู่อย่างมีความสุขได้ เพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะว่าอยู่ๆไปก็ต้องซ่อมไป เดี๋ยวหลังคารั่ว เดี๋ยวร้าว เดี๋ยวพื้นเอียง และอื่นๆ ซึ่งทำให้ท่านต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมตลอดเวลา เจอช่างที่รู้จริงก็ดีไป เจอช่างจัญ... ก็แย่หนักเข้าไปอีก จะเอาเงินที่ไหนไปเก็บล่ะครับ จะแขวนสักรอยป้ายก็ไม่ช่วยได้ (ขอประทานโทษที่ต้องใช้คำๆนั้น)
ถ้าผมจะบอกท่านว่า เวลานี้ การสร้างหรือซื้อที่อยู่อาศัยท่านจะ ต้องพิถีพิถันมากกว่าอดีต หลายเท่า และต้องหาวิศวกรรวมทั้งสถาปนิก หรือผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการออกแบบอาคารแบบที่รู้จริงในสภาวะปัญหาสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน อย่างดีด้วย ทำไม่ผมจึงกล่าวกับท่านผู้อ่านเช่นนี้ ขอให้ติดตาม คอลัมน์หมอบ้าน ในหน้าหนังสือพิมพ์นี้ โดยตลอดแล้วท่านจะเข้าใจเป็นอย่างดี
โดยปัจจุบันสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากก่อให้พฤติภาพและกายภาพของมวลดิน ได้เปลี่ยนตามไปด้วย อันเนื่องมาจากการขยายเมืองที่อยู่อาศัยของประชากร การขุดเจาะสูบน้ำบาดาล การก่อสร้างอาคารสูง การขยายผิวทางการจราจร การถมคูคลองต่างๆ ฯลฯ ซึ่งล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพที่เป็นไปโดยทางธรรมชาติ เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน ทำให้ทิศทางการไหลเวียนของน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นปัจจัยนำพามวลดิน และมวลตะกอนทับถม ในชั้นดินชั้นต่างๆ ที่เคยมีในอดีต โดยเฉพาะในดินอ่อนซึ่งมีความหนาจากผิวดินอยู่ระหว่าง 13-15 เมตร ต้องเปลี่ยนพฤติภาพไป ทำให้ค่าหน่วยแรง(Shear Strain) ของดินเปลี่ยนแปลง ไปเป็นประจำทุกปี
ปัญหาที่มักตรวจสอบพบการทรุดตัวของอาคารส่วนมาก คืออาคารที่ใช้เสาเข็มชนิด เสียดทานมวลดิน (Friction Pile) หรือเข็มที่ใช้การคำนวณตามวิธีพลศาสตร์ โดยนำค่าหน่วยแรงของดิน มากำหนดความลึกและขนาดหน้าตัดเสาเข็มเพื่อหาค่าการรับน้ำหนักที่ต้องการ ของฐานรากในแต่ละจุด (point load) ซึ่งเข็มประเภทนี้ในอดีตนั้นไม่เคยมีปัญหา (ทรุดตัวไม่เท่ากัน) จะเห็นได้จากอาคารเก่าๆอายุ 40 ปีขึ้นไป ย่านราชดำเนิน เยาวราช และย่านอื่นๆ แต่มิได้หมายความว่าอาคารเหล่านี้ไม่ทรุดตัว จริงๆแล้วอาคารเหล่านี้มีการทรุดตัวเป็นประจำทุกปี แต่การทรุดตัวเป็นการทรุดตัวตามการทรุดตัวของแผ่นดินลักษณะเท่าๆกัน
อย่างไรก็ดีปัจจุบัน ในสภาวะเช่นนี้การก่อสร้างอาคาร ต้องเพิ่มความเอ
าใจใส่เป็นพิเศษ ตั้งแต่การออกแบบ การให้ความสำคัญในการออกแบบฐานรากอาคาร และเน้นเป็นพิเศษคือ การกำหนดขนาดที่เหมาะสมและความลึกของเสาเข็มต้องถึงชั้นดินดาน(End Baring) ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาทรุดตัวในระยะยาว นอกจากนี้ปัญหาที่พบรองลงมานั้นก็คืออาคารที่ใช้เข็มเจาะชนิดเจาะแห้ง (dry proceed) ที่นิยมใช้กันในกรณีไม่สามารถตอกเสาเข็มได้