อิสราเอลเป็นประเทศที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อรัฐของชาวยิว มิใช่เพื่อเป็นรัฐสำหรับพลเมืองทุกคนที่อาศัยอยู่ในนั้นไม่ว่าจะเป็นยิวหรือมิใช่ยิว หากแต่เป็นรัฐที่ชาวยิวทุกคนจากทั่วโลกสามารถที่จะมาเป็นพลเมืองได้ ดังนั้น เมื่อรัฐอิสราเอลได้ถูกสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 1948 มันก็จึงเลี่ยงไม่ได้ที่สภาคเนสเซ็ตซึ่งเป็นองค์กรนิติบัญญัติจะต้องกำหนดไว้ในกฎหมายว่าใครที่จะมีคุณสมบัติเป็นพลเมืองที่แท้จริงและใครที่มิใช่ นั่นคือผู้ที่มิใช่ยิวโดยทั่วและชาวอาหรับปาเลสไตน์โดยเฉพาะ ใน ค.ศ.1950 สภาคเน็สเซ็ทของอิสราเอลได้ผ่านกฎหมายออกมาสองฉบับ ฉบับแรกคือกฎหมายว่าด้วยการกลับคืน (the Law of Return) ซึ่งกำหนดขอบเขตการรวมไว้ว่า ชาวยิวทุกคนมีสิทธิ์ที่จะอพยพเข้ามายังประเทศ และอีกฉบับหนึ่งคือกฎหมายทรัพย์สินของ ผู้ที่ไม่อยู่ ซึ่งกำหนดขอบเขตของการแบ่งแยกไว้
ภายใต้กฎหมายสองฉบับนี้ ยิวทุกคนจากทั่วโลกมีสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะมาเป็นพลเมืองของรัฐอิสราเอลโดยการอพยพเข้ามาในประเทศในขณะที่ประชาชนประมาณ 2 ล้านคนซึ่งเป็นชาวอาหรับปาเลสไตน์และลูกหลานที่ต้องหลบลี้หนีภัยไปเพราะสงครามในปี ค.ศ.1948-4949 และ 1967 ไม่มีสิทธิ์ในการเป็นพลเมือง อย่างไรก็ตาม สิทธิการอพยพกลับสู่มาตุภูมิของคนเหล่านี้ก็ได้รับการยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศและในมติของสหประชาชาติหลายครั้งหลายคราว (โดยเริ่มตั้งแต่มติที่ 194 (3) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 1948) มติเหล่านี้ยังคงมีอยู่อย่างชัดเจน แต่ในกฎหมายอิสราเอลก็ยังระบุว่าชาวอาหรับปาเลสไตน์
"ไม่มีอยู่ และถูกกฎหมายแบ่งแยกออกมาจากการเป็นพลเมือง
กฎหมายว่าด้วยการกลับคืน (1950) เป็นรากฐานของกฎหมายสัญชาติอิสราเอล (1952) แต่หลังจากนั้น กฎหมายดังกล่าวนี้ก็ถูกแก้ไขจนกลายเป็นไม่เพียงชาวปาเลสไตน์ที่มิใช่ยิวเท่านั้นที่มีไม่มีสิทธิ์เป็นพลเมืองอิสราเอล แม้แต่ชาวอาหรับปาเลสไตน์ที่ไม่อยู่ก็ไม่มีสิทธิ์ในการเป็นพลเมืองด้วยเช่นกัน นอกจากนี้แล้วก็ยังมีชาวยิวอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกแยกออกไปมิให้มีสิทธิ์เป็นพลเมืองอิสราเอลด้วย นั่นคือชาวยิวที่เกิดจากแมที่มิใช่ยิว ชาวยิวที่เกิดจากแม่ชาวยิวแต่หันไปรับนับถือศาสนาอื่นและผู้ที่มิใช่ยิวแต่ได้หันมานับถือศาสนายูดายโดยพวกแร็บไบอนุรักษ์หรือแรบไบปฏิรูป (เฉพาะผู้ที่ทำพิธีเข้ารับนับถือศาสนายูดายตามวิธีการของพวกออร์โธดอกซ์เท่านั้นที่จะได้รับการยับรอบในอิสราเอล) ส่วนคำถามที่ว่า ใครคือยิว นั้นได้สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่การดำเนินการทางการเมืองและทางกฎหมายของอิสราเอลมาตั้งแต่กฎหมายการกลับคือฉบับ ค.ศ.1950 ได้ผ่านออกมาแล้ว อากิวา ออร์ ได้เขียนไว้ว่า :
ประการแรก ลัทธิไซออนิสม์มิได้เชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้า ขบวนการนี้มิใช่ขบวนการทางศาสนา
.. ลัทธิไซออนิสม์ยืนยันว่าความทุกข์ยากลำบากที่ต้องระหกระเหินอยู่ในต่างแดนนั้นเป็นผลเนื่องมาจากฐานะการเป็นชนกลุ่มน้อย ลัทธิไซออนิสม์สอนว่าชาวยิวจะต้องสร้างรัฐของตนเองขึ้นมาในไซออนขึ้นมาเองดีกว่าที่จะมอรอพระเจ้าสร้างให้ ประการสุดท้าย ลัทธิไซออนิสม์โต้แย้งว่าเมื่อเอกราชของชาวยิวถูกฟื้นคืนขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ชาวยิวก็จะกลายเป็นชาติหนึ่งเหมือนกับชาติอื่น (Orr, The Unjewish State, หน้า 6)
แต่กระนั้นก็ตาม โดยกำหนดกฎเกณฑ์ทางด้านประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา รัฐอิสราเอลก็ยังเป็นรัฐที่มีความเชื่อทางศาสนา การแต่งงานกันเองในหมู่ประชาชนไม่เป็นที่อนุญาตภายใต้กฎหมายอิสราเอลและการแต่งงานจะเป็นที่ยอมรับก็ว่าถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อพิธีกรรมแต่งงานกระทำโดยผู้มีอำนาจทางศาสนา เช่น แรบไบ หรือโดยนักบวชคริสเตียนหรือโดยศาลชะรีอ๊ะฮ์เท่านั้น การหย่าก็เช่นเดียวกัน ภายใต้กฎหมายอิสลาม (อำนาจทางกฎหมายของศาลแรบไบในเรื่องการแต่งงานและการหย่า ค.ศ.1953 ศาลศาสนาคือศาลของรัฐและผู้ตัดสินปัญหาทางด้านศาสนาจะได้รับเงินเดือนจากรัฐ
ปัญหาเรื่องที่ว่า ใครคือชาวอิสราเอลในรัฐอิสราเอลเป็นสิ่งที่สร้างความยุ่งยากเป็นอย่างมากในทางด้านการเมืองและกระบวนการนิติบัญญัติ จะเห็นได้ว่า คำว่า อิสราเอล และ ยิวนั้นมิใช่คำที่มีความหมายเหมือนกัน พลเมืองประมาณ 7 แสนคนจากจำนวนพลเมืองกว่าสี่ล้านคนของอิสราเอล (หรือประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์) มิใช่ชาวยิว คนเหล่านี้เป็นชาวอาหรับปาเลสไตน์ เป็นลูกหลานของชาวปาเลสไตน์ที่ยังอยู่อยู่ในแผ่นดินปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอิสราเอล (ประมาณ 150,000 คนใน ค.ศ.1948-1949) คนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกกลไกทางการเมืองและกฎหมายจำแนกแยกแยะเพื่อที่จะระบุใครที่จะได้รับสิทธิพิเศษให้ใช้ทรัพยากรของชาติและทำงานให้พลเมืองชาวยิวและแบ่งแยกว่าใครที่มิใช่ยิวซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นชาวอาหรับปาเลสไตน์
อย่างไรก็ตาม กระบวนการทางกฎหมายของอิสราเอลก็มิได้มุ่งต่อต้านคนที่มิใช่ยิวที่รวมกลุ่มกันเป็นองค์กรทางการเมืองในฐานะที่เป็นพลเมืองของรัฐยิว แต่ที่เลวร้ายที่สุดก็คือ กระบวนการทางกฎหมายของอิสราเอลนั้นมุ่งต่อต้านคนที่มิใช่ยิวซึ่งถูกแยกออกไปอยู่ในฐานะ ผู้ไม่อยู่ คนเหล่านี้ได้แก่ชาวอาหรับปาเลสไตน์จำนวนสองล้านคนที่ถูกเรียกว่า ผู้อพยพ
ดังนั้น ยิวอิสราเอลแต่ละคนจึงมีเงาอยู่หนึ่งเงา นั่นคือ ผู้อพยพชาวอาหรับปาเลสไตน์เมื่อปี ค.ศ.1948 บ้านของชาวอิสราเอลถูกสร้างขึ้นบนซากปรักหักพักของบ้านของพวกเขาและพวกยิวอิสราเอลเพาะปลูกบนแผ่นดินของพวกเขา
ปัจจุบันผู้อพยพชาวอาหรับปาเลสไตน์เมื่อปี ค.ศ.1948 เป็นทหารในกองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์ หรือที่เรียกว่า ฟิดาอี แน่นอน ในสถานการณ์เช่นนั้น มนุษย์ทุกคนต้องลุกขึ้นต่อสู้และต้องเป็นกบฏเพื่อให้โลกได้รู้ถึงการมีอยู่ของพวกตน เพื่อเรียกร้องสิทธิของตนเองกลับคืนมา และถ้าหากว่าจำเป็นก็ต้องใช้อาวุธภายในทุกส่วนของมาตุภูมิที่ตัวเองถูกแบ่งแยกกีดกัน และในการต่อสู้นี้ ชาวอาหรับปาเลสไตน์สมควรที่จะได้รับการสนับสนุนทางด้านศีลธรรมและวัตถุอย่างเต็มที่จากเรา
อิสราเอล : ฆาตกรสังหารหมู่เป็นผู้นำรัฐ
นายแอเรียล ชารอน นายกรัฐมนตรีอิสราเอลคือหนึ่งในบรรดาผู้ก่อการร้ายที่เปื้อนเลือดมากที่สุด เขาเป็นผู้รับผิดชอบต่อการสังหารคนอย่างเลือดเย็นอย่างน้อยที่สุด 1,500 คนทั้งผู้หญิงและเด็กในค่ายผู้อพยพชาติลลาและซาบราในเบรุต แม้แต่คณะกรรมาธิการอิสราเอลที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการก็พบว่าชารอนเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อการสังหารหมู่ชาวเลบานอน (4)
ใน ค.ศ.1982 ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายชารอนได้สั่งทหารบุกเลบานอนและได้สิ่งทิ้งระเบิดปูพรมเมืองเบรุต (การโจมตีเลบานอนครั้งนั้นมีผู้หญิงและเด็กเสียชีวิตมากกว่าการโจมตีนิวยอร์คเมื่อเดือนกันยายน) การทิ้งระเบิดอย่างโหดเหี้ยมนี้กระทำโดยการที่พวกยิวใช้เครื่องบินรบและระเบิดที่สหรัฐส่งให้
หลังจากที่ทำลายล้างและเข้าไปยึดครองแล้ว ชารอนก็ได้ผลักดันนักรบปาเลสไตน์ออกไปจากเลบานอน ผู้หญิง เด็กและคนแก่ชาวปาเลสไตน์ถูกทิ้งไว้ในค่ายผู้อพยพใกล้เบรุต สหรัฐได้ให้หลักประกันความปลอดภัยของคนเหล่านี้ต่อสาธารณชนและสัญญาว่าพวกเขาจะได้กลับไปอยู่ร่วมกับคนที่พวกเขารักอีกครั้งหนึ่ง เมื่อชารอนวางแผนการสังหารพวกเขา เขาไม่เพียงแต่จะวางแผนสังหารผู้อพกยพเหล่านี้อย่างเลือดเย็นเท่านั้น เขารู้ดีว่าการกระทำของเขาเป็นการทรยศต่อสหรัฐฯซึ่งจะสร้างความเกลียดชังอย่างที่สุดให้แก่อเมริกา
ในคืนวันที่ 16 กันยายน 1982 ชารอนได้ส่งหน่วยฆาตกรฟาลังกิสต์ไปที่ค่ายผู้อพยพสองแห่ง คือ ค่ายชาติลลาและซาบรา รถถังและทหารของอิสราเอลได้ปิดล้อมค่ายผู้อพยพทั้งสองไว้มิให้ชาวปาเลสไตน์คนใดหลบหนีไปได้ หลังจากนั้น พวกฆาตกรก็ระดมยิง ใช้ดาบปลายปืนเข้าจ้วงแทงและใช้กระบองตี
พลเมืองชาวปาเลสไตน์ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งโดยที่พวกอิสราเอลที่ปิดล้อมค่ายนิ่งฟังเสียงปืนและเสียงหวีดร้องที่ดังออกมาจากในค่าย หลังจากนั้น นายชารอนก็ได้ส่งรถไถเข้าไปไถกลบเพื่อปกปิดการเข่นฆ่าสังหารให้มากที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้ อย่างน้อยที่สุด ชาวปาเลสไตน์ท้งผู้ชาย ผู้หญิงและเด็ก 1,500 คนได้ถูกฆ่าอย่างทารุณ บางทีอาจจะมากถึง 2,500 คนก็ได้ (การสอบสวนของเจ้าหน้าที่เลบานอนตั้งตัวเลขไว้ที่ 2,500 คน) ถึงแม้นายชารอนจะพยายามใช้รถบุลโดเซอร์ไถกลบ แต่ก็ยังมีชาวปาเลสไตน์อีกหลายคนที่ยังไม่ได้ถูกฝัง และเจ้าหน้าที่กาชาดได้พบศพของหลายครอบครัวรวมทั้งคนแก่และเด็กอีกนับร้อยคนที่ถูกเชือดคอหรือไม่ก็ถูกแทงจนไส้ทะลักออกมา นอกจากนี้ก็มีผู้หญิงและเด็กผู้หญิงอีกมากมายที่ถูกข่มขืนก่อนถูกฆ่า