https://www.facebook.com/proconsmicropiles procons www.procons.info
ReadyPlanet.com
dot
bulletHome
dot
Procons Team
dot
bulletงานแก้ไขอาคารทรุด
bulletปัญหาการทรุดตัว
bulletชนิดของเสาเข็ม
bulletผลงานต่างๆ
dot
ความรู้เรื่อง บ้านและส่วนประกอบของอาคาร
dot
bulletมารู้เรื่องส่วนประกอบของอาคารกันสักหน่อย
bulletเปิดโปงองค์กรลับ ฟรีเมสัน
bulletสนธิสัญญาชั้นต้นของผู้นำขบวนการยิวไซออนิสต์
bulletความจริงที่ไม่มีคนรู้เกี่ยวกับไซออนนิสต์
bulletเนื้อแท้ของรัฐไซออนนิสต์
bulletกฎการอนุญาตให้ปฏิบัติการพลีชีพในอิสลาม
bulletลัทธิก่อการร้ายไซออนนิสต์ เบื้องหลังหายนะภัย 911 (1)
bulletลัทธิก่อการร้ายไซออนนิสต์ เบื้องหลังหายนะภัย 911 (2)
bulletลัทธิก่อการร้ายไซออนนิสต์ เบื้องหลังหายนะภัย 911 (3)
bulletลัทธิก่อการร้ายไซออนนิสต์ เบื้องหลังหายนะภัย 911(4)
bulletลัทธิก่อการร้ายไซออนนิสต์ เบื้องหลังหายนะภัย 911 (5)
bulletลัทธิก่อการร้ายไซออนนิสต์ เบื้องหลังหายนะภัย 911 (6
bulletลัทธิก่อการร้ายไซออนนิสต์ เบื้องหลังหายนะภัย 911 (7)
bulletลัทธิก่อการร้ายไซออนนิสต์ เบื้องหลังหายนะภัย 911 (8)
dot
รู้ไว้ไช่ว่าใส่บ่าแบกหาม
dot
bulletสงครามครูเสด ขนาดย่อ
bulletกลุ่มไซออนิสต์คริสเตียนใหม่ของอเมริกา.
bulletกำแพงกั้นอารยธรรมอิสลามกับตะวันตก.
bulletไซออนิสต์ คำสอนเรื่องเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์อย่างผิดๆ
bulletขบวนการไซออนนิสต์ กลุ่มก่อการร้ายตัวจริง
bulletรู้จักยิวไซออนนิสต์แล้วหรือยัง
bulletขบวนการไซออนนิสต์ อันตราย
bulletเหตุการณ์หลังจากนบีอีซา อะลัยฮิสลาม.(เยซู)
bulletไซออนนิสต์กับยุทธศาสตร์ครองความเป็นเจ้าโลก (โลกเดียว)
bulletอีกด้านหนึ่งของเหรียญ (นรกรอบใหม่ในตะวันออกกลาง)
bulletน่ารู้สำหรับผู้ไฝ่หาความจริง อ่านแล้วคิด
bullet9/11 ปาหี่อาชญากรรมสงคราม
bulletเร่งเปิดโปง CTIC สถานะการณ์ภาคใต้+แผนการเจ็ดขั้นเพื่อส่งผลให้อเมริกาขึ้นเป็นจ้าวโลก
bulletIslamic World
bulletไปดูอิสลามกับวิทยาศาตร์
bulletไปอ่านข่าว ยมท.กันบ้าง
bulletไปหาพี่น้องชาวจีน มุสลิม
bulletเสนอเรื่องราวของมุสลิมใหม่ และมุสลิมในโลกตะวันตก
dot
อ่านข่าวกันสักหน่อยจะได้ทันเหตุการณ์
dot
bulletผู้จัดการ ออนไลน์
bulletเดลินิวส์
bulletมติชน
bulletคมชัดลึก
bulletไทยรัฐ
bulletไปดูข่าว อสมท.
dot
ข่าวประกวดราคาและการประมูล
dot
bulletรวมข่าวประกวดราคา
bulletตลาดซื้อ-ขายไปThai2Hand
bulletประมูลสินค้าทั่วไป
bulletgoogle
dot
ซอร์ฟแวร์ฟรี มีมากมายไปดู
dot
bulletที่นี่มีมากมายเข้าไปดูเอง
bulletมือถือ ที่นี่เลยมีทั้งฟรีทั้งเสียตัง
dot
ความรู้เพิ่มเติม
dot


Search in the Holy Quran
Search keyword:
in


ภาพผลงาน (Gallery)
ดูรูปขนาดใหญ่
วันที่ : 28 พฤศจิกายน 2011
ชื่ออัลบั้ม : เสริมฐานราก ยกปรับระดับอาคาร ในอาคารเชิงเขา ภูเก็ต
รายละเอียด:

                              จากปัญหาดังกล่าวได้ประเมินว่า อาคารดังกล่าวเกิดความเสียหาย เนื่องมาจากการเคลื่อนตัวของชั้นดิน จึงทำให้โครงสร้างอาคารเกิดการทรุดและ  เอียงตามสภาพของพื้นดินที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้น 

 

การแก้ไขปัญหา อาคารที่เกิดการทรุดตัวของฐานรากที่ไม่เท่ากัน ดำเนินการโดย การเสริมการรับน้ำหนักให้แก่ฐานรากอาคาร (Remedial Underpinning) เพื่อให้ฐานรากอาคารมีอัตราส่วนปลอดภัยเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน แล้วยกระดับอาคารให้ได้ระดับดังเดิม ซ่อมแซมโครงสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม และส่วนควบของอาคารต่อไป หรือไม่ถ้าค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสูงกว่าการสร้างอาคารขึ้นใหม่ ก็ควรนำมาพิจารณาในลำดับต่อไป

                    ต้นเหตุของปัญหาเมื่อพิจารณาแล้ว น่าจะเกิดจากการเคลื่อนตัวของดินในบริเวณนั้น และระบบระบายน้ำของโครงการน่าจะเป็นปัญหา จึงทำให้ดินบริเวณนั้นอุ้มน้ำไว้เป็นจำนวนมาก 

 

จำนวนรูป : 25 รูป
( เข้าชมอัลบั้ม )
ดูรูปขนาดใหญ่
วันที่ : 20 มิถุนายน 2009
ชื่ออัลบั้ม : ติดตั้งเข็ม Steel Micro piles ศูนย์ประชุมกองทัพเรือ
รายละเอียด:

ติดตั้งเข็ม Steel Micro piles 10 +Pile Load Test  หน่วยงานก่อสร้างลิฟท์โดยสาร 2 ชุด หอประชุมกองทัพเรือ ทำงานเฉพาะหลังเที่ยงคืน

จำนวนรูป : 23 รูป
( เข้าชมอัลบั้ม )
ดูรูปขนาดใหญ่
วันที่ : 11 กันยายน 2008
ชื่ออัลบั้ม : เสริมฐานราก ตัดแยกอาคารทาวน์เฮาส์ริมสุด ออกจาก กลุ่มฐานรากทรุดตัว 12 หน่วย
รายละเอียด:

ตัดแยกอาคาร+ก่อสร้างฐาน+โครงสร้างใหม่+ยกปรับระดับโครงสร้าง โดยสภาพการทรุดตัวของ อาคารทาวน์เฮาส์ คสล. 2 ชั้น  อาคารดังกล่าวเป็นอาคารแถวห้องริมสุดท้าย หน่วยที่ 12   มีองค์อาคารและฐานรากร่วมกัน 13 ฐาน พบปัญหา คือแนวฐานรากอาคารด้านซ้ายหน่วย12จำนวน 5 ฐานทรุดตัว ตามการทรุดตัวของกลุ่ม แถวอาคารแนวปีกซ้ายทั้งแถว   ในขณะที่แนวฐานรากแถวขวาริมสุดทรุดตัวช้ากว่า ทำให้ผนังแนวขวางและโครงสร้างด้านซ้ายแตกร้าวเป็นแนวเฉือน รุนแรง   อย่างไรก็ตามเมื่อฐานรากพิบัติแล้วจำเป็นอย่างยิ่งต้องหาทางแก้ไข เพื่อให้อาคารหน่วยนี้มี ฐานรากที่สามารถรับแรงได้ ตามวัตถุประสงค์การใช้งานอย่างเมประสิทธิภาพ และหากจะแก้ไขให้อาคารมั่นคงแข็งแรงตลอดไปจำเป็นต้องเสริมฐานรากและตัดแยกอาคารออกจากอาคารในหน่วยแถวอื่น

จำนวนรูป : 22 รูป
( เข้าชมอัลบั้ม )
ดูรูปขนาดใหญ่
วันที่ : 7 พฤศจิกายน 2007
ชื่ออัลบั้ม : เสริมฐานราก ยกระดับบ้านพักอาศัย
รายละเอียด:

งานอาคาร คสล. 2ชั้น เสริมฐานรากด้วยเสาเข็มให้เป็นแบบดาลทุกฐานและยกปรับระดับอาคาร โดยวิธีทำงาน กดเสาเข็มเหล็ก Steel Micro Pile ท่อกลม  150 มม. ความลึกเฉลี่ย 19.00-21.00 เมตร รับ นน. 20 ตัน/ต้น จำนวน 15 ฐานๆละ 2 ต้น บางฐาน1 ต้น   ใช้เข็มทั้งสิน 27  ต้น  ยกปรับระดับทั้งอาคารให้ได้ระดับ 51 ซม. ก่อสร้างฐานรากใหม่ กลบดินกลับ   

จำนวนรูป : 19 รูป
( เข้าชมอัลบั้ม )
ดูรูปขนาดใหญ่
วันที่ : 7 พฤศจิกายน 2007
ชื่ออัลบั้ม : เสริมฐานราก ยกปรับระดับอาคาร ขนาดใหญ่ คสล. 3 ชั้น
รายละเอียด:

ลักษณะอาคาร    เป็นบ้านพักอาศัย คสล. เล่นระดับ 3 ชั้น ก่อสร้างแล้วเสร็จเข้าอยู่อาศัยเป็นเวลา 7 ปี บนทางหลวงแผ่นดิน สายบางบัวทอง-สุพรรณบุรี ห่างจากถนนประมาณ 300 เมตร ด้านขวาติดพื้นที่โล่งด้าน   ด้านซ้ายติดถนนซอย  ด้านหลังโล่ง ขนาดพื้นที่ใช้สอยเฉพาะที่เป็นปัญหาทรุดเอียง กว้าง 17.65 เมตร ลึก 24.40 เมตร พื้นที่ใช้สอยเฉลี่ยรวม1,290 ตรม. พื้น คสล. ตกแต่งปูหินแกรนิต บางส่วน และพื้นไม้เข้าลิ้น

เสาเข็มตามแบบแปลน กำหนดให้ใช้เข็ม F1 คอนกรีตรูปตัว I-0.26 x 0.26 x 16.00 ม. รับนน. 30 ตันฐานละ 1 ต้น และ F2 I-0.26 x 0.26 x 16.00 ม. รับนน. 30 ตัน2 ต้น บันใดเฉลียง I-0.18x0.18 x 6.00 ม.

แก้ไขแบบถาวร

เสริมเสาเข็มเพิ่มประสิทธิภาพของฐานราก โดยใช้วิธีกดเสาเข็ม Steel Micro pile BEAM 150 x 200 มม. ความลึกเฉลี่ย 16.00-18.00 ม.หรือจนสุดชั้นดินแข็ง ที่กำลังลังรับน้ำหนักปลอดภัยไม่น้อยกว่า 25 ตัน/ต้น  ทุกฐานรากประเภท  F2 จำนวน 13 ฐานๆละ 2 ต้น  และประเภท F1 ทีฐานราก B2, G9 และ B-E 11 จำนวน 4 ฐานๆละ 1 ต้น ก่อสร้างฐานรากรับ นน. ร่วมกับฐานรากเดิม และก่อสร้างฐานรากใหม่ 2 ฐาน ที่ตำแหน่ง A’7-A’8 2 ฐานๆละ 1 ต้น รวมเข็มที่ใช้ทั้งอาคาร 32 ต้น   ตัดตอม่อ ยกปรับระดับทั้งอาคารให้ได้ระดับซ่อมสร้างตอม่อทุกจุด  ซ่อมแซมรอยแตกร้าว  

จำนวนรูป : 23 รูป
( เข้าชมอัลบั้ม )
ดูรูปขนาดใหญ่
วันที่ : 7 พฤศจิกายน 2007
ชื่ออัลบั้ม : พื้นรองรับเครื่องทำความเย็น ขนาด นน. 6 ตัน 4 ตัว เริ่มพิบัติ
รายละเอียด:

ปัญหา การแอ่นตัว(Deflection) ของพื้นอาคาร ชั้น B1ขนาดใหญ่ พื้นรองรับเครื่องทำความเย็น นน. 6 ตัน 4 ตัว เริ่มพิบัติ  จากการตรวจสภาพพื้นที่จริง และการพิจารณาวิเคราะห์ ตามรายละเอียดในแบบแปลน สันนิษฐานว่า พื้น คสล. ไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับรองรับ เครื่องจักร ที่มีน้ำหนักมากและมีแรงสั่นสะเทือนตลอดเวลาการทำงานของเครื่องจักร ซึ่งแรงกระทำซ้ำๆอย่างต่อเนื่องบนพื้นคอนกรีตที่ไม่มีฐานรากเฉพาะรองรับ ย่อมทำให้เกิดการแอ่นตัว (Deflection) ของพื้นบริเวณนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และหากปล่อยไว้เนิ่นนานอาจทำพื้นคอนกรีตบริเวณใต้แท่นเครื่อง และคานโครงสร้างรับพื้น พิบัติรุนแรงได้

Concept: แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา ต้องก่อสร้างเสา(Post Unit Support)รองรับเครื่อง CHILLER ทั้ง 4 เครื่อง ในชั้น B1 โดยเสานั้นจะต้องรองรับเป็นอิสระเฉพาะเครื่องจักรทั้ง 4 เครื่อง โดยให้ปลายเสาหนุนแท่นเครื่อง   ทั้งหมดทะลุผ่านพื้นชั้น B2 ไปสู่ฐานราก(Match Footing)

อย่างไรก็ตามการทำงานแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น มีข้อจำกัดทางด้านสถานที่และสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่แล้วรอบบริเวณ แนวทางการแก้ปัญหาคือต้องไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานของเครื่อง CHILLER และอุปกรณ์ต่อควบต่างๆ จึงขอเสนอให้ใช้ระบบ UNDERPINNING SYSTEM ก่อสร้างฐานรองรับ แบบ POST UNIT SUPPORT    โดยใช้ เสา ชนิด STEEL     H-BEAM 200 x 200 MM. รองรับตรงจุดฐานแท่นเครื่องๆละ 4 จุด

 

จำนวนรูป : 21 รูป
( เข้าชมอัลบั้ม )
ดูรูปขนาดใหญ่
วันที่ : 7 พฤศจิกายน 2007
ชื่ออัลบั้ม : ก่อสร้างฐานรองรับวัสดุที่มีน้ำหนักมากและ เครื่องจักรภายในอาคารแถว
รายละเอียด:

ปัญหา    วัสดุเหล็กน้ำหนักมาก กว่า 8 ตัน วางบนพื้นอาคาร ประกอบกับจะติดตั้งเครื่องจักร CNC น้ำหนักขนาด  5 ตัน  ได้ก่อให้เกิดการยุบตัวแตกร้าวของพื้น ก่อผลกระทบไปยัง

โครงสร้าง คานและเสาแตกร้าว  รวมทั้งปัญหา รอกสำหรับเคลื่อนย้ายวัสดุมีปัญหา เฟืองขบกันตลอดเวลา

 ขอบข่ายงาน

1. ฐานรากเครื่องจักร วิธีทำงาน โดยเจาะ พื้นคอนกรีตเคิม 4 จุด ตอกเสาเข็มเหล็ก   Steel Micro pile ท่อกลม ขนาด 150 มม. (ทาเคลือบผิวนอกด้วย Coal Tar Epoxy)   เทคอนกรีตตลอด ความลึก 20.00 เมตร หรือ จนสุดชั้นดินแข็ง ที่กำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มไม่น้อยกว่า 20 ตันต่อต้น จำนวน เสาเข็ม 4 ต้น  

 2. ฐานรากเพื่อสร้างพื้นที่วางพัสดุเหล็กที่มีน้ำหนักมาก วิธีทำงาน โดยเจาะ พื้นคอนกรีตเดิม  12 จุด ตอกเสาเข็มเหล็ก   Steel Micro pile ท่อกลมขนาด 150 มม. (ทาเคลือบผิวนอกด้วย Coal Tar Epoxy)   ความลึก 20.00 เมตร หรือ จนสุดชั้นดินแข็ง ที่กำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มไม่น้อยกว่า 20 ตันต่อต้น จำนวน เสาเข็ม 12 ต้น เทหล่อคอนกรีตตลอดความลึกของเข็ม

 เสริมเหล็กปลาย 4 เส้น ขนาด 12 x 2000 มม. เทคอนกรีตปิดหลุมเจาะ โดยใช้โฟมกั้นระหว่างคอนกรีตกับพื้นผิวเดิม ติดตั้งเหล็กเพรทขนาด 200x 200 มม.   

 3.เสาเข็มเพื่อก่อสร้างเพิงหลังคาและเครนเคลื่อนย้ายพัสดุ ด้านหน้าอาคาร  วิธีทำงาน โดยเจาะ พื้นคอนกรีตเดิม  5จุด ตอกเสาเข็มเหล็ก Steel Micro pile WF.H-Beam ขนาด 150x 194 มม. (ทาเคลือบผิวนอกด้วย Coal Tar Epoxy)   ความลึก 20.00 เมตร  ก่อสร้างเสา 4 เมตร พร้อมหูช้างรับเหล็กพาดรางเครน จำนวน เสาเข็ม 5 ต้น  โดยไม่ต้องสร้างฐานและคานตอดิน

จำนวนรูป : 13 รูป
( เข้าชมอัลบั้ม )
ดูรูปขนาดใหญ่
วันที่ : 7 พฤศจิกายน 2007
ชื่ออัลบั้ม : ใช้ Steel Micropiles สร้างฐานรองรับเครื่องจักร
รายละเอียด:

ปัญหา  เครื่องจักรตัดเหล็ก ขนาดแรงอัด 100 ตัน น้ำหนัก 7 ตัน ตั้งบนพื้น คสล. หนา 35 ซม. เมื่อเครื่องจักรทำงาน แรงสั่นสะเทือนได้ก่อให้เกิด การแตกร้าวของผนัง และกระจก และต้องเสียงบประมาณซ่อมแซมทุกปี

Concept:  เจาะพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตอกเสาเข็มเหล็ก   Steel Micro pile ขนาด 150 มม. เสริมคอนกรีต (ทาเคลือบผิวนอกด้วย Coal Tar Epoxy)   ความลึก 21.00 เมตร  จนสุดชั้นดินแข็ง ที่กำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มไม่น้อยกว่า 18 ตันต่อต้น จำนวน เสาเข็ม 5 ต้น เพื่อก่อสร้างฐานคอนกรีตรองรับเครื่องจักร  โดยให้ฐานเครื่องจักรวางลงบน เสาเข็มทั้ง 5 ต้น แยกคอนกรีตพื้นกับฐานเครื่องจักร  จบปัญหาแรงสั้นสะเทือนจากการใช้เครืองจักร ทีก่อผลกระทบไปยังสิ่งก่อสร้างอื่นได้ผล 100 %

จำนวนรูป : 6 รูป
( เข้าชมอัลบั้ม )
ดูรูปขนาดใหญ่
วันที่ : 7 พฤศจิกายน 2007
ชื่ออัลบั้ม : ยกระดับ อาคารเรียน
รายละเอียด: เสริมฐานรากยกปรับระดับขึ้น  35 ซม.
จำนวนรูป : 10 รูป
( เข้าชมอัลบั้ม )
ดูรูปขนาดใหญ่
วันที่ : 7 พฤศจิกายน 2007
ชื่ออัลบั้ม : ซ่อมเสริม ยกปรับระดับสะพาน
รายละเอียด:

สะพานเกิดปัญหาทรุดตัวและหงาย คานและเสาถูกแรงดันดินกระทำจนแตกหักพิบัติรุนแรง

Concept. เสริมซ่อมคานและเสาป้องกันกำแพงกันดินพลิกหงาย

จำนวนรูป : 14 รูป
( เข้าชมอัลบั้ม )

1 2  [ถัดไป]
Copyright © 2010-2011 All Rights Reserved.
https://www.facebook.com/proconsmicropiles